วันศุกร์, ธันวาคม 21, 2550

โปรโตคอลนอกจากTCP/IP

โปรโตคอลนอกจากTCP/IP
1.SNMP (Simple Network Management Protocol)
สำหรับชุดโปรโตคอล TCP/IP ที่ใช้สำหรับกำหนดกระบวนการจัดการเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมไว้ในกลุ่มการปฏิบัติการพื้นฐานที่ใช้สำหรับการเฝ้าระวัง และบำรุงรักษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต โดยเน้นความสะดวกในการดูแลรักษาระบบจากศูนย์กลาง ซึ่ง SNMP จะอนุญาตให้ตัวแทน (Agents) ที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสวติซ์หรือเร้าเตอร์ในเครือข่ายทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารไปยังอุปกรณ์อื่นๆ บนเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้ตัวแทนแต่ละตัวจะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเองด้วยซึ่งเรียกว่า MIB (Management Information Base) เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานของผู้จัดการ HTTP (HyperText Transfer Protocol)
เป็นข้อกำหนดที่ใช้สำหรับเรียกดูเอกสารจากเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งจัดเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมเบราเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์
2.โปรโตคอล RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น
3.โปรโตคอล IGMP (Internet Group Message Protocol)
โปรโตคอล IP ยังสามารถแบ่งการสื่อสารออกเป็นสองชนิดด้วยกันคือ แบบยูนิคาสติ้ง (Unicasting) และ แบบมัลติคาสติ้ง (Multicasting) โดยยูนิคาสติ้งเป็นการสื่อสารระหว่างฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ซึ่งเป็นเการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Communication) อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการส่งเมสเสจเดียวกันนี้ไปยังผู้รับหลายๆ คน หรือหลายๆ กลุ่ม จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการส่งแบบมัลติคาสติ้ง ซึ่งเรียกว่าการสื่อสารแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Communication)
ปัจจุบันได้มีแอปพลิเคชันมากมายที่ใช้สำหรับเพื่อการนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไอพีก็สนับสนุนวิธีการส่งแบบมัลติคาสติ้ง เช่น หมายเลขไอพีแบบมัลติคาสต์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลคลาส D โดย 4 บิตแรก (High-OrderBit) ที่เริ่มต้นด้วย 1110 จะใช้กำหนดกลุ่มของโฮสต์มัลติคาสต์ และด้วยการส่งข้อมูลแบบมัลติคาสต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้ข้อมูลเพียงชุดเดียวที่มาจากฝ่ายส่งจะมาถึงกลุ่มผู้รับหลายๆ คน หรือเป็นกลุ่มสมาชิกได้ด้วยการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเพียงครั้งเดียว ทำให้ลดแบนด์วิดธ์ลงได้มาก ซึ่งแตกต่งจากการส่งข้อมูลแบบบรอดคาสต์ที่โฮสต์บางโฮสต์อาจไม่ต้องการรับข้อมูลเหล่านั้น หรือการส่งแบบยูนิคาสต์ที่โฮสต์ต้นทางจะต้องทำการจัดส่งหลายรอบ ซึ่งจะเท่ากับจำนวนของโฮสต์ปลายทางที่ต้องการข้อมูล ทำให้สิ้นเปลืองแบนด์วิดธ์ ดังนั้นไอ-พีมัลติคาสต์จึงเหมาะกับการนำมาใช้งานบนเครือข่ายกับข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย การประชุมผ่านวิดีโอคอมเฟอร์เร็นซ์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดแบนด์วิดธ์บนลิงก์มาก เนื่องจากโฮสต์ต้นทางจะส่งข้อมูลเพียงชุดเดียว ไปยังกลุ่มปลายทางที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกเดียวกันได้ด้วยการส่งเพียงครั้งเดียว
เอกสารอ้างอิง
[1] Andrew S. Tanenbaum. Computer Networks. หน้า32-35 , 432-434 , 463-465
[2] เรืองไกร รังสิพล. เจาะระบบ TCP/IP : จุดอ่อนของโปรโตคอลและวิธีป้องกัน . บริษัท โปรวิชั่น จำกัด. 2001

ไม่มีความคิดเห็น: