วันศุกร์, มกราคม 11, 2551

สรุปบทที่6-8

สรุปบทที่6-8
บทที่6 Domain Name System(DNS)
ระบบ Domain Name System เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address มีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้
ในระบบ DNSจะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
ข้อกำหนดที่สำคัญของ DNS คือ ชื่อในลำดับชั้นที่สองที่ต่อจาก root ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะที่ระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจน เช่น
.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานรัฐบาล
.edu แทนส DHCP server ถาบันการศึกษา
.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย
Host File
การใช้งานไฟล์ host จะต้องคัดลอกข้อมูลเก็บเอาไว้กับทุกๆเครื่องที่มีการใช้งานและอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน
ข้อมูลใน DNS
การทำงานของ DNS เป็นการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ฐานข้อมูลระบบกระจาย จะมีทางเลือกในการใช้งาน ได้ 2 วิธี คืออาศัยเครื่อง DNS server ของผู้ให้บริการ (ISP) เพื่อแปลงชื่อเป็นหมายเลข IP Address ให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายของตน
ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี คือ องค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมเครื่องทำหน้าที่ DNS Server และไม่ต้องคอยดูแลจัดการข้อมูลให้ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเครื่องในเครือข่าย ก็จะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลระบบของบริษัท ISP ทราบเพื่อช่วยแก้ไขข้อมูลให้ ซึ่งจะไม่สามารถทำเองได้DNS Zone
มีการแบ่งจัดการดูแล domain ออกเป็นพื้นที่ย่อยเรียกว่า zone หรือ DNS zone นี้ทำได้โดยการแบ่งกลุ่มย่อยของ node ที่มีลำดับชั้นย่อยลงไปอีกขั้นเพื่อแยก DNS server ให้ดูแลรับผิดชอบแต่ละ zone ไปช่วยให้กรณีเมื่อ DNS server ที่ดูแล zone 1 อยู่เองได้รับคำสั่งขอข้อมูลที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ก็จะมีการส่งค่า IP Address ของ DNS server ที่ดูแล zone ที่ต้องการให้แทน
บริการ Domain Redirect
มีผู้คิดบริการใหม่เรียกว่า Domain Redirect เพื่อแปลงตำแหน่ง domain name ให้สั้นกระชับ จดจำได้ง่ายและมีความหมายที่ดีกว่า


ประโยชน์ของบริการ Domain Redirect
อันดับแรกที่เป็นประโยชน์มากคือผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลทั่วไป องค์กรหรือห้างร้านที่ยังไม่มีโฮมเพจเป็นกิจจะลักษณะ สุดท้ายคือบริการ Domain Redirect ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพราะในส่วนของผู้ให้บริการจะได้รับรายได้จากโฆษณาเป็นหลัก
DHCP : Dynamic Host Configuration Protocal
มีผู้คิดค้นโปรโตคอล DHCP :( Dynamic Host Configuration Protocal:RFC 1531, RFC 2131 และRFC 2132)สำหรับกำหนดแอดเดรสแบบไดนามิคข้นมาใช้งาน โดยทำหน้าที่แจกจ่ายแอดเดรสและพารามิเตอร์ที่จำเป็นให้กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ภายในเครือข่ายโดยอัตโนมัติ การทำงานของโปรโตคอล DHCPได้รับการปรับปรุงมาจากโปรโตคอล Bootstrap
การทำงานของโปรโตคอล DHCP จัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ โดยเครื่องที่ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูลของแอดเดรสและพารามิเตอร์(DHCP database) ที่จำเป็นเพื่อแจกจ่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์หรืออุปกรณ์อื่นๆจะถูกเรียกว่า DHCP server และเครื่องที่ร้องขอแอดเดรสและพารามิเตอร์อื่นๆจาก DHCP server เพื่อนำไปใช้งาน จะถูกเรียกว่า DHCP client
บทที่ 7 อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
Workflow เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆเป็นไปแบบอัตโนมัติมากขึ้น
-User Agent เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านผู้ใช้งาน แบ่งเป็น2ส่วนคือ ส่วนของผู้ส่งและส่วนของผู้รับ
-MTA (Mail Transfer Agent) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะส่งอีเมล์จากต้นทางไปยังผู้รับปลายทางโปรโตคอลและประเภทการใช้งาน การทำงานทั่วๆไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ1.การส่งอีเมล์2.การรับอีเมล์
การใช้เมล์แบบ Offline คือเครื่องที่ผู้ใช้ใช้อ่านเมล์ไม่ได้ต่อกับเครื่องที่มีเมล์บ็อกซ์ตลอดเวลาPOP(Post Office Protocol : RFE 1939) เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 3 เรียกย่อๆว่า POP3 โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ ซึ่งกลไกของ POP3 จะทำงานในแบบ Offline โดยติดต่อเข้าไปยัง เมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวโหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบ Online กับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ใน User agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเครือข่ายก็ได้
การทำงานของ POP3จะร่วมกับโปรโตคอล TCPโดยทั่วไปใช้พอร์ต110 ในการติดต่อ
ขั้นตอนการทำงานของ POP3ประกอบด้วย3สถานะคือ
-สถานะขออนุมัติ
-สถานะรับส่งรายการ
-สถานะปรับปรุงข้อมูล

SMTP (Simple Mail Transfer Protocol : RFC 821) เป็นโปรโตคอลที่อยู่คู่กับ POP3 เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่นๆที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องของผู้รับ โปรโตคอล SMTP จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP
IMAP 4(Internet Message Access Protocol 4 : RFC 1730) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์ สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ผู้ใช้สามารถเลือกดาวโหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตคอล POP3 และยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline Online และ Disconnected อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องใช้งานอยู่หลายเครื่อง IMAPจึงเป็นโปรโตคอลที่สามารถใช้งานกับสายสื่อสารที่มีความเร็วต่ำเป็นอย่างดี
การทำงานของ IMAP เหมือนกับโปรโตคอลอื่นๆ โดยทำงานร่วมกับTCPใช้พอร์ตหมายเลข143 แบ่งออกเป็นสถานะต่างๆ4สถานะ
-สถานะก่อนอนุมัติ
-สถานะได้รับการอนุมัติ
-สถานะเลือกเมล์บ็อกซ์
-สถานะเลิกใช้งาน
ทั้ง4สถานะ ไม่จำเป็นต้องทำงานเรียงต่อกันเสมอไป อาจมีการทำงานข้ามจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งได้
การเข้ารหัสและ MIME(RFC 1341) เทคนิคของ MIME หรือ Multipurpose Internet Mail Extensions เป็นเทคนิคที่แปลงรหัส ASCII ทั่วไป ซึ่งมี8บิต ให้เป็นค่า7บิต(ให้บิตที่ 0 มีค่า เป็น 0 เสมอ)
ลักษณะข้อมูลของ MIME ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนหัว จะเก็บรายละเอียดของไฟล์ที่เข้ารหัสไว้ เช่น ประเภทของไฟล์ เป็นต้น ส่วนที่สองเป็นส่วนของข้อมูลที่เข้ารหัสแล้ว

Newsgroups (NNTP : RFC 977) Newsgroupsเป็นอีกบริการหนึ่งที่ใกล้เคียงกับอีเมล์อย่างมาก การทำงานของNewsgroups เป็นเสมือนเนื้อที่สาธารณะให้ผู้ที่สนใจในเรื่องต่างๆส่งความคิดเห็นหรือถามปัญหาได้ตามหัวข้อที่สนใจ โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกในหัวข้อ (Article) ที่สนใจเสียก่อน จึงจะสามารถอ่านหรือดูข้อความที่คนอื่นส่งมาได้

การทำงานของโปรโตคอล NNTP จะต่างจากอีเมล์ทั่วไป เนื่องจากอีเมล์จะแยกโปรโตคอลที่ทำหน้าที่รับและส่งออกจากกัน แต่ Newsgroups นั้น NNTP จะทำทุกหน้าที่ไปพร้อมกันคือ
-ไคลเอนต์ส่งข้อความไปยังเซิร์ฟเวอร์
-ไคลเอนต์รับและส่งข้อความจากเซร์ฟเวอร์
-แลกเปลี่ยนหัวข้อกันระหว่างเซร์ฟเวอร์
บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์FTP( File Transfer Protocol : RFC 959)
เป็นเครื่องมีในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยมีคุณสมบัติสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อการโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่วิธีการทำงานของ FTP
FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน
ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ
-ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง
-ข้อมูลที่เป็นคำสั่ง FTP จะมีคำสั่งที่ใช้งานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์ หรือไดเร็คทอรีในเครื่องเซร์ฟเวอร์
วิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้
- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ
- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก
- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
TFTP(Trivian Transfer Protocol : RFC 1350)
TFTP เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์ ,การเปลี่ยนไดเร็คทอรี เป็นต้นConnectionless และ Connection-Oriented
-Connectionless เป็นการส่งข้อมูลโดยไม่สนใจว่าผู้รับปลายทางจะได้รับข้อมูลหรือไม่ เปรียบได้กับการส่งไปรษณีย์แบบธรรมดา
-Connection-Oriented เป็นการสื่อสารที่มีกลไกที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับได้รับข้อมูลต่างๆหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับก็จะต้องส่งไปใหม่ ก็จะคล้ายกับการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนนั่นเอง
ระบบเสริมอื่นๆในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่อง

GetRight เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ โดยทำหน้าที่แทนไดอะล๊อกซ์บ๊อกซ์การดาวน์โหลดของบราวเซอร์ซึ่งจะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้บราวเซอร์
การทำงานของ GetRight อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้มาก โดยถ้ากำหนดชื่อของ Dail-up Networking ที่ใช้งานไว้ โปรแกรม GetRight ก็จะติดต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตให้ใหม่โดยอัตโนมัติWebNFS
WebNFS พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีในการแชร์ไฟล์ข้ามเครื่องบนระบบปฏิบัติการ Unix คือ NFS และระบบการเรียกใช้โปรแกรมข้ามเครื่องที่เรียกว่า RPC ซึ่งมีคุณสมบัติจำลองดิสก์ของระบบ Unix ของระบบ Unix ให้เครือข่ายเข้ามาเรียกใช้ข้อมูล หรือส่งงานมาพิมพ์ และในทางกลับกันก็ขอใช้ไฟล์หรือส่งงานไปพิมพ์ที่เซิร์ฟเวอร์อื่นในเครือข่ายได้ด้วย โดยขยายให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้
WebDAV(Web Distributed Authoring and Versioning : RFC2518 )
WebDAV หรือWeb Distributed Authoring and Versioning เป็นข้อกำหนดที่พัฒนาขึ้นโดย IETF (Internet Engineering Task Force) โดยต้องการขยายความสามารถของอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
CIfS
CIFS หรือ Common Internet File System เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจากพื้นฐานของโปรโตคอล SMB (System Message Block) ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานอยู่ในระบบ Window ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Window95/98 หรือ Window NT I รวมทั้ง Unix เป็นต้น
โปรโตคอล SMB (Server Message Block )
SMB เป็นโปรโตคอลและการใช้ไฟล์เครื่องพิมพ์ร่วมกัน